• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสต์ฟรี โปรโมทเว็บไซต์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Lali

#1

สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ ที่เพิ่งเคยทําบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าครั้งแรก อาจคิดว่าคงเป็นเรื่องยาก แต่บทความนี้ นรินทร์ทอง จะชวนพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ทุกท่าน ไปทำความรู้จักกับ วิธีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า เพื่อช่วยควบคุมต้นทุนธุรกิจ ทั้งยังช่วยวางแผนภาษีให้ดียิ่งขึ้น
เรียนรู้การทำ บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า เพิ่มเติมคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่

บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า คือ

1. รายจ่าย
รายจ่าย หมายถึง จำนวนเงินทั้งหมดที่ร้านค้าใช้ไปกับรายจ่ายต่างๆ ได้แก่ ต้นทุนสินค้า ต้นทุนวัตถุดิบ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ
2. รายรับ
รายรับ คือ รายได้และผลประโยชน์ที่ได้รับจากการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น รายได้ทางตรงที่เกิดจากการขายสินค้า และบริการหรือรายได้ทางอ้อมในรูปแบบต่างๆ
3. ต้นทุน
หลักการทำบัญชีของรายรับรายจ่ายร้านค้า จะแยกต้นทุนออกจากรายการรายจ่าย เพราะต้องแยกให้ชัดเจนว่า ต้นทุนที่ทำให้เกิดรายได้มีอะไรบ้าง
 
บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า สำคัญอย่างไร

1. รู้กำไร-ขาดทุนที่แท้จริงของกิจการ
2. ควบคุมค่าใช้จ่าย
3. วางแผนการเงินได้ดีขึ้น
4. ป้องกันปัญหาหนี้สิน
5. ช่วยจัดการสต๊อกสินค้า
6. ใช้เป็นข้อมูลสำหรับยื่นกู้กับสถาบันการเงิน
7. สะดวกต่อการจัดการภาษีในอนาคต
ทำความเข้าใจความสำคัญของการทำ บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า เพิ่มเติมคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ที่นี่

วิธีทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า

เราสามารถเริ่มต้นทำบัญชีรายรับรายจ่ายของร้านค้าได้ง่ายๆ โดยใช้ "แบบฟอร์มรายงานเงินสดรับ-จ่าย" ซึ่งเป็นแบบฟอร์มตามรูปแบบที่กำหนดของกรมสรรพากร (เราสามารถใช้แบบฟอร์มนี้ยื่นกับสรรพากรในกรณีที่มีการยื่นแบบเสียภาษีบุคคลธรรมดาได้)
ตัวอย่างแบบฟอร์มบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า ตามแบบฉบับของกรมสรรพากร


  • ชื่อผู้ประกอบการ

  • ชื่อสถานประกอบการ

  • เลขประจำตัวประชาชน

  • วัน/เดือน/ปี โดยต้องเป็นวันที่มีการรับเงิน หรือจ่ายเงินจริงเท่านั้น แต่สามารถลงบัญชีภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีธุรกรรมรายรับ-รายจ่ายเกิดขึ้น ก็ได้เช่นกัน

  • รายรับที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการจำหน่ายสินค้า, รายรับดอกเบี้ย หรือเงินปันผล

  • รายจ่าย-บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าตามแบบของกรมสรรพากร กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการแบ่งรายการรายจ่าย ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.รายจ่ายที่เป็นต้นทุนสินค้า และ 2.รายจ่ายอื่นๆ เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าเช่าสถานที่ เป็นต้น

  • หมายเหตุ - ใช้สำหรับระบุรายละเอียดเพิ่มเติมว่าธุรกรรมรายรับหรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นเป็นแบบจ่ายเงินสด หรือว่าเงินเชื่อ

ข้อควรรู้ของการทำ บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า แต่ละขั้นตอน

  • การจัดทำบัญชีต้องเป็นภาษาไทยเท่านั้น ในกรณีที่เป็นภาษาต่างประเทศจะต้องมีภาษาไทยแปลความหมายกำกับ

  • ต้องลงบันทึกรายการบัญชีภายใน 3 วันทำการ โดยนับแต่วันที่มีธุรกรรมรายได้-รายจ่ายใดๆ เกิดขึ้น

  • นำรายการที่เกิดขึ้น (รายรับ-รายจ่าย) มากรอกในแบบฟอร์ม เราสามารถเลือกกรอกทั้ง 2 รูปแบบ "แบบยอดรวมแต่ละวัน" และ "แบบแยกทีละรายการ"

  • ให้สรุปยอด รายรับ และ รายจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


วางแผนทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่ นรินทร์ทอง คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่

 
สรุปข้อดีของการทำ บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า กับ นรินทร์ทอง
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า การทำ บัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า มีความสำคัญกับธุรกิจอย่างมาก แต่อาจเป็นเรื่องที่หลายๆ คนเคยมองข้าม เพราะเป็นเรื่องยุ่งยากและใช้เวลา แต่จริงๆ แล้วการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า ถือเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่ง ในการบริหารร้านค้าให้เติบโตได้อย่างมั่นคง หากผู้ประกอบการท่านใด ต้องการให้เราช่วยจัดทำบัญชีและภาษีร้านค้า หรือต้องการคำแนะนำในส่วนอื่นๆ สามารถปรึกษาได้ที่ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด ทางเราให้บริการ รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น
  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่...
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339

#2


การขายของออนไลน์ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่นิยมอย่างมาก เพราะสามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา โดย 2 แพลตฟอร์มซื้อ-ขายยอดฮิตที่ทุกคนต่างรู้จักกันดีในขณะนี้ คือ Shopee และ Lazada แพลตฟอร์มค้าขายออนไลน์ขนาดใหญ่ ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้หลายกลุ่ม แต่ในขณะเดียวกันนี้ หลายๆ คนอาจเกิดข้อสงสัยว่า แล้วการ ขายของใน Shopee  Lazada เสียภาษีไหม? วันนี้ นรินทร์ทอง จึงอยากชวนทุกคนมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ พร้อมแชร์รายละเอียดอื่นๆ ที่ผู้ที่ทำธุรกิจขายของออนไลน์ควรรู้!




รายได้ขายของออนไลน์


  • รายได้จากการขายสินค้า – เป็นราคาที่ลูกค้าชำระสำหรับสินค้าที่คุณขาย หมายถึงจำนวนเงินที่ลูกค้าจ่ายจริงในการซื้อสินค้า

  • รายได้จากค่าจัดส่งที่ชำระโดยผู้ซื้อ – ผู้ขายอาจเรียกเก็บค่าจัดส่งสินค้าจากลูกค้า หรือรวมค่าจัดส่งไว้ในราคาสินค้า หรือบางครั้งผู้ขายอาจได้รับส่วนลด หรือค่าคอมมิชชั่นจากบริษัทขนส่ง

  • รายได้จากคอมมิชชั่น – สำหรับผู้ขายที่ขายสินค้าแบบ Drop shipping หรือเป็นตัวแทนขาย จะได้รับส่วนแบ่งรายได้ หรือคอมมิชชั่นจากยอดขาย


ค่าใช้จ่ายขายของออนไลน์


  • ต้นทุนสินค้าที่จ่ายให้กับ Supplier
  • ต้นทุนสินค้า
  • ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้กับ Shopee, Lazada
  • ค่าขนส่ง
  • ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน (Payment Fee)
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Commission Fee)
  • ค่าโฆษณา (Affiliate Ads)
  • ค่าเข้าร่วมโปรแกรมต่างๆ
1.Freeship Max
2. Cash Back


ทำความเข้าใจเรื่องรายได้และค่าใช้จ่าย สำหรับร้านขายของออนไลน์เพิ่มเติมคลิก


การเข้าร่วมแคมเปญ พร้อมยกตัวอย่าง


สำหรับแพลตฟอร์ม Shopee ยกตัวอย่างเช่น แคมเปญส่งเสริมการขาย


  • รายได้จากการขายสินค้าจะถือเป็น รายได้จากการประกอบกิจการ

  • การคำนวณ:

1. รายได้รวม
2. หักค่าใช้จ่ายตามจริง
3. กำไรสุทธิ (Net Profit) – กำไรสุทธิ = รายได้รวม – ค่าใช้จ่ายทั้งหมด
4. เสียภาษีนิติบุคคล 15% สำหรับ SME


หมายเหตุ: กิจการที่เป็น SMEs อาจได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดอัตราภาษีในช่วงแรก


  • ส่งฟรี ทางร้านจะโดนหัก 5% โดยจะหักเปอร์เซ็นต์จาก ยอดขายรวม (Gross Transaction Value หรือ GTV) ของผู้ขาย ซึ่งรวมทั้งค่าสินค้าและค่าจัดส่งก่อนที่จะมีการใช้ส่วนลดต่างๆ เช่น คูปอง หรือ โปรโมชันที่ให้กับลูกค้า
  • Coin cash back โดนหัก 3-4% จากราคาขายสินค้าสุทธิ ซึ่งค่าธรรมเนียมนี้จะถูกนำไปใช้สำหรับการสนับสนุนโปรแกรม Coin cash back ที่มอบเหรียญ Shopee Coins คืนให้กับลูกค้า เพื่อกระตุ้นยอดขายและเพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้าบนแพลตฟอร์ม
  • เข้าร่วมทั้ง ส่งฟรี และ Coin cash back จะโดนหัก 6-7% หากร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการขายทั้ง 2 แคมเปญ ร้านค้าจะถูกหักค่าธรรมเนียมที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ จากยอดขายของสินค้าในแคมเปญนั้นๆ และจะหักค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น หากร้านค้าเข้าร่วมแคมเปญพิเศษอื่นๆ
ส่วนแพลตฟอร์ม Lazada ยกตัวอย่างเช่น แคมเปญ Lazada Payday มีรายละเอียดดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมการชำระเงิน 3.21% เป็นค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ซื้อทำธุรกรรมการชำระเงิน ผ่านช่องทางต่าง ๆ บน Lazada โดยอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 3.21% (รวม VAT 7%) ของราคาคำสั่งซื้อรวมค่าจัดส่งที่ชำระโดยผู้ซื้อ

  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Commission) 3.21 – 5.35% เป็นค่าธรรมเนียมที่ Lazada จะเรียกเก็บจากผู้ขาย เมื่อมีการขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม

  • โปรแกรมส่งฟรี 6.42% หรือทางร้านค้าออกค่าส่งเอง เป็นโปรโมชันที่จัดขึ้นเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้า โดยตัวเลข 6.42% นี้คือ ส่วนลดเพิ่มเติมจากราคาสินค้า

  • คูปอง แคมเปญ (Laz Bonus) 5.35% เป็นส่วนลดพิเศษที่ได้รับจาก Lazada  เมื่อซื้อสินค้าตามเงื่อนไขที่กำหนดในแคมเปญ

ภาษีเงินได้ (Income Tax)

ภาษีเงินได้แบ่งเป็น 2 ประเภทตามสถานะของผู้ขาย:

1. บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax – PIT)


รายได้จากการขายสินค้าจะถือเป็น เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 (ตามมาตรา 40(8))
  • การคำนวณ:

1. รายได้รวม
รวมรายได้ทั้งหมดที่ได้รับ เช่น ค่าสินค้า (ที่ลูกค้าจ่าย)
2. หักค่าใช้จ่าย (เลือกได้ 1 วิธี):
  • หักแบบเหมา:  60% ของรายได้
  • หักตามจริง: ค่าใช้จ่ายที่มีเอกสารหลักฐาน
3. คำนวณเงินได้สุทธิ:
เงินได้สุทธิ = รายได้รวม – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
4. เสียภาษีตามอัตราก้าวหน้า:
  • รายได้สุทธิน้อยกว่า 150,000 บาท: ยกเว้นภาษี

  • 150,001 – 300,000 บาท: 5%

  • 300,001 – 500,000 บาท: 10%

  • 500,001 – 750,000 บาท: 15%

  • 750,001 – 1,000,000 บาท: 20%

  • 1,000,001 – 2,000,000 บาท: 25%

  • 2,000,001 – 5,000,000 บาท: 30%

  • มากกว่า 5,000,000 บาท: 35%


2. นิติบุคคล (Corporate Income Tax – CIT)


  • รายได้จากการขายสินค้าจะถือเป็น รายได้จากการประกอบกิจการ

  • การคำนวณ:

1. รายได้รวม
2. หักค่าใช้จ่ายตามจริง
3. กำไรสุทธิ (Net Profit) – กำไรสุทธิ = รายได้รวม – ค่าใช้จ่ายทั้งหมด
4. เสียภาษีนิติบุคคล 15% สำหรับ SME

หมายเหตุ: กิจการที่เป็น SMEs อาจได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดอัตราภาษีในช่วงแรก


ภาษีมูลค่าเพิ่ม


ในส่วนถัดมา คือ เรื่อง "ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat)" ซึ่งเป็นภาษีที่เก็บจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ โดยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในปัจจุบันเป็นอัตรา 7% โดยตัวชี้วัดง่ายๆ ที่ทำให้พ่อค้าหรือแม่ค้าออนไลน์อย่างเรา จะรู้ได้ว่าต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่นั้น ต้องเช็กที่ยอดรายได้ หากรายได้ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี แน่นอนว่าเราต้องรีบไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยทันที ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ

  • ภาษีขายคือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่เราเรียกเก็บจากลูกค้า ซึ่งต้องคิดรวมอยู่ในราคาขายและค่าขนส่งไว้เรียบร้อยแล้ว

  • ภาษีขายภาษีมูลค่าเพิ่มที่เราถูก Supplier หรือว่า Shopee, Lazada เรียกเก็บไป ในอัตรา 7 % เช่นเดียวกัน สังเกตง่ายๆ จากใบกำกับภาษีที่เราได้รับมา


ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ถัดมาคือ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นภาษีที่ผู้จ่ายมีหน้าที่หักจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับ แต่ก็ใช่ว่าทุกรายจ่ายจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเสมอไป เพราะกฎหมายกำหนดประเภทรายจ่ายที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายเอาไว้ และอัตราการหัก ณ ที่จ่ายไว้เช่นกัน

เรียนรู้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย แบบละเอียด เพิ่มเติมคลิก


ขายของใน shopee เสียภาษีไหม นรินทร์ทอง พร้อมให้คำปรึกษาและบริการครบวงจร

หากกล่าวโดยสรุปจากเนื้อหาข้างต้นที่หลายๆ คนสงสัยว่า ขายของใน shopee เสียภาษีไหม? คำตอบคือ "ต้องเสียภาษีเมื่อมีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด" นอกจากนี้จะเห็นว่าการขายของบนแพลตฟอร์ม Shopee Lazada นั้น ส่งผลดีต่อร้านค้าในหลายด้าน แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อจำกัดที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อย่างเช่น การโดนหักค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งทางที่ดีร้านค้าออนไลน์ ควรวางแผนภาษีขายออนไลน์ ให้ดี ยิ่งไปกว่านั้นหากคุณมีผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถให้คำปรึกษาด้านบัญชีและภาษีได้ ก็จะยิ่งช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างมั่นคงยิ่งขึ้น และส่งผลดีในหลายๆ ด้าน ซึ่งสำนักงานบัญชีที่แนะนำ คือ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด ให้บริการ รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่...
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339


#3


การปิดงบการเงิน เป็นเรื่องสำคัญสำหรับเจ้าของกิจการ ไม่ว่าจะเป็นกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดังนั้น ขั้นตอนการทำบัญชี เพื่อปิดงบการเงินจึง ต้องจัดหาผู้ทำบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชี ที่มีประสบการณ์ด้านบัญชีโดยตรง ดังนั้นหากใครที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ บทความนี้ นรินทร์ทอง จะชวนทุกคนมาทำความเข้าใจ เกี่ยวกับขั้นตอนการทำบัญชีเพื่อปิดงบการเงิน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ธุรกิจในอนาคต





การปิดงบการเงิน คือ


การปิดงบการเงิน คือ รายงานทางบัญชีของธุรกิจ ที่ใช้สำหรับการแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ทางการเงิน อาทิเช่น ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงานของธุรกิจ รวมถึงกระแสเงินสดของกิจการในแต่ละงวดบัญชี

เข้าใจวิธีการปิดงบการเงิน เพิ่มเติม คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่


ขั้นตอนการทำบัญชี เพื่อปิดงบการเงิน


1. การระบุและวิเคราะห์ธุรกรรมทางธุรกิจ
ขั้นตอนการทำบัญชีจะเริ่มต้นด้วย การระบุและวิเคราะห์ธุรกรรม รวมถึงเหตุการณ์ทางธุรกิจ โดยข้อมูลทางธุรกรรมและเหตุการณ์บางส่วนนั้น จะถูกป้อนเข้าสู่ระบบบัญชี

2. การบันทึกบัญชีในสมุดรายวัน
การทำบัญชีในรูปแบบของการจดบันทึกลงในกระดาษ หรือการจดบันทึกแบบออนไลน์ เป็นการลงบันทึกทุกธุรกรรมลงในระบบ ซึ่งการทำธุรกรรมทางธุรกิจนั้น มักจะใช้วิธีบันทึกผ่านระบบบัญชีคู่

3. การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท
สมุดบัญชีสรุปข้อมูลทางธุรกรรม แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางบัญชีที่เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นผลลัพธ์จากธุรกรรมต่างๆ ที่ผ่านมา และแสดงให้เห็นถึงยอดคงเหลือที่มีอยู่

4. งบทดลองก่อนการปรับปรุง
จัดทำขึ้นเพื่อทดสอบว่า ข้อมูลยอดบันทึกบัญชีเดบิตและเครดิตนั้นเท่ากันหรือไม่ ซึ่งจะถูกแยกออกจากบัญชีแยกประเภท และจะถูกนำมารวมในรายงานสรุปฉบับเดียวกัน หลังจากนั้นยอดเดบิตและยอดเครดิตทั้งหมด จะถูกสรุปยอดบัญชี

5. การปรับปรุงรายการทางบัญชี
ถือเป็นการเตรียมการเพื่อนำไปสู่การบันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้าง ในขั้นตอนนี้จึงเป็นตรวจสอบและเพิ่มเติมยอดต่างๆ ในบัญชีให้เรียบร้อย ก่อนที่จะนำไปสรุปเป็นงบการเงินต่อไป


6. งบทดลองหลังปรับปรุง
งบทดลองหลังปรับปรุง สามารถทำได้หลังจากมีการปรับปรุงรายการต่างๆ และต้องจัดทำก่อนนำไปสรุปงบทางการเงิน จะแสดงให้เห็นว่า ยอดเดบิตและยอดเครดิตตรงกันหรือไม่

7. งบการเงิน
เมื่อนักบัญชีไปทำการปรับข้อมูล และเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำข้อมูลทางธุรกรรมเหล่านั้นมาสรุปงบการเงินได้ทันที

8. รายการปิดบัญชี
ควรทำเฉพาะบัญชีกำไรขาดทุน หรือบัญชีชั่วคราว ยกตัวอย่างเช่น การปิดบัญชีเพื่อนำไปสู่การทำบัญชีในรอบใหม่ โดยบัญชีกำไรขาดทุนจะรวมถึงรายได้และรายจ่ายด้วย

9. การดำเนินการหลังปิดงบบัญชีทดลอง
งานบัญชีสิ่งสุดท้ายที่จะต้องดำเนินการ คือ การเตรียมการสำหรับปิดบัญชีทดลอง ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบยอดเดบิตและเครดิต โดยบัญชีกำไรขาดทุนจะสามารถปิดงบได้ทันที

10. การกลับรายการทางบัญชี (ทางเลือกสำหรับการทำบัญชีใหม่)
ถือเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการทำบัญชีใหม่ ซึ่งเป็นวิธีการเตรียมการในช่วงเริ่มต้นของรอบบัญชีใหม่ เพื่อให้การบันทึกบัญชีเป็นไปด้วยความถูกต้องและแม่นยำ



ทำความเข้าใจรายละเอียดการปิดงบการเงินแต่ละขั้นตอนเพิ่มเติม คลิกอ่านที่นี่



เรียนรู้ ขั้นตอนการทำบัญชี เพื่อปิดงบการเงิน ได้ง่ายๆ กับ นรินทร์ทอง

หากธุรกิจของคุณมีนักบัญชีที่ดี สามารถจัดเตรียมเอกสารครบถ้วน และสามารถสรุปงบการเงินทุกไตรมาส หรือทุกเดือนได้อย่างรวดเร็ว ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานในธุรกิจยิ่งขึ้น ดังนั้นเราจึงขอแนะนำ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด ให้บริการ รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น


  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่...
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339


#4


การ เพิ่มทุนจดทะเบียน เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับธุรกิจ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการ เพิ่มทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท หากคุณกำลังหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น เอกสารที่ต้องใช้ หรือ ขั้นตอนการดำเนินการ คุณจะต้องไม่พลาดกับบทความนี้กับเรา นรินทร์ทอง !

ชวนผู้ประกอบการทำความเข้าใจ การเพิ่มทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้าน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิก



เพิ่มทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง


  • แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  • แบบ บอจ.4: รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือ มติพิเศษ
  • แบบ บอจ.1: คำขอการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  • หนังสือบริคณห์สนธิที่แก้ไขแล้ว จำนวน 1 ฉบับ
  • สำเนาหลักฐานการรับชำระค่าหุ้นเพิ่มทุน ที่บริษัทมอบให้ผู้ถือหุ้น
  • สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการ ที่ลงชื่อขอจดทะเบียน
  • สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (กรณีมีผู้รับรองลายมือชื่อ)
  • หลักฐานการอนุญาตให้เพิ่มทุน (ในกรณีที่ประกอบธุรกิจเฉพาะที่ต้องได้รับอนุญาต)
  • คำสั่งศาล (ในกรณีที่บริษัทอยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ)



ขั้นตอนการ เพิ่มทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท


1. การเชิญประชุมผู้ถือหุ้น และ ลงหนังสือพิมพ์
  • ออกหนังสือนัดประชุมล่วงหน้าอย่างน้อย 14 วัน หรือตามที่บริษัทกำหนด

2. จัดประชุมผู้ถือหุ้น
  • จัดประชุมผู้ถือหุ้น ในมติพิเศษเพิ่มทุน และแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิที่มีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทุน
     
3. ยื่นคำขอต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD)
  • โดยต้องจัดทำคำขอจดทะเบียน / ยื่นขอจดทะเบียน ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD)ภายใน 14 วันหลังมีมติ

4. ในกรณีของทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท
  • ห้างหุ้นส่วน และบริษัทจะต้องแสดงหลักฐานการชำระค่าหุ้น ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด



เพิ่มทุนเกิน 5 ล้าน ต้องชำระเต็มไหม?


กฎหมายกำหนดให้ชำระขั้นต่ำเพียง 25% ของมูลค่าหุ้นใหม่ หากบริษัทมีข้อบังคับ หรือข้อตกลงที่กำหนดให้ชำระเต็มจำนวน จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบริษัท

ตัวอย่างที่ : การชำระขั้นต่ำ 25% ตามกฎหมาย

สถานการณ์:
  • บริษัท A มีทุนจดทะเบียนเดิม 1 ล้านบาท (100,000 หุ้น หุ้นละ 10 บาท)
  • ต้องการเพิ่มทุนอีก 5 ล้านบาท โดยออกหุ้นใหม่ 500,000 หุ้น หุ้นละ 10 บาท

การชำระเงิน:
  • ตามกฎหมาย กำหนดให้ชำระขั้นต่ำ 25% ของมูลค่าหุ้นใหม่

คำนวณ:
  • 25% ของ 10 บาท = 2.50 บาทต่อหุ้น
  • 500,000 หุ้น × 2.50 บาท = 1,250,000 บาท
ส่วนที่เหลืออีก 3,750,000 บาท จะชำระในภายหลังตามที่บริษัทกำหนด

ทุนจดทะเบียนใหม่หลังเพิ่มทุน:

รวมทุนจดทะเบียนใหม่ = 1,000,000 บาท (เดิม) + 5,000,000 บาท (เพิ่ม) = 6,000,000 บาท



วิธีการแสดงหลักฐานการชำระหุ้นแก่เจ้าหน้าที่ ในกรณีเพิ่มทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท


กรณีชำระส่วนลงหุ้น หรือ ชำระด้วยเงิน

1. เอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้

2. หนังสือยืนยันจากหุ้นส่วนผู้จัดการหรือกรรมการผู้ขอจดทะเบียน


กรณีชำระส่วนลงหุ้นหรือค่าหุ้นด้วยสินทรัพย์

1. ทรัพย์สินมีทะเบียน ให้จัดส่งหนังสือยืนยันการรับชำระส่วนลงหุ้น หรือ ค่าหุ้นของห้างหุ่นส่วนหรือบริษัทจำกัด พร้อมสำเนาเอกสารแสดงว่าห้างหุ้นส่วน

2. ทรัพย์สินไม่มีทะเบียน ให้จัดส่งหนังสือยืนยันการรับชำระส่วนลงหุ้นหรือค่าหุ้นของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด พร้อมสำเนาบัญชีแสดงรายละเอียดทรัพย์สินนั้น


กรณีชำระส่วนลงหุ้นหรือค่าหุ้นด้วยแรงงาน

1. ให้จัดส่งหนังสือยืนยันการชำระส่วนลงหุ้นหรือค่าหุ้นด้วยแรงงานของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด พร้อมเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับแรงงานที่นำมาลงทุน


เรียนรู้การเพิ่มทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้าน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิก



โเพิ่มทุนเกิน 5 ล้านมีค่าธรรมเนียมเท่าไร?



  • การจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัทจำกัด:
    ค่าธรรมเนียม: 500 บาท

  • ขอหนังสือรับรอง:
    ค่าธรรมเนียม: 40 บาทต่อรายการ
    จำนวนรายการที่ต้องการอาจขึ้นอยู่กับข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ชื่อบริษัท ที่อยู่ และข้อมูลทุนจดทะเบียน

  • การรับรองสำเนาเอกสารคำขอจดทะเบียน:
    ค่าธรรมเนียม: 50 บาทต่อหน้า
    จำนวนหน้าที่ต้องรับรองขึ้นอยู่กับความยาวของเอกสาร เช่น แบบคำขอจดทะเบียน หรือรายงานการประชุม


อ่านการเพิ่มทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท แบบละเอียด ทำความเข้าใจไปกับนรินทร์ทอง


สรุปเพิ่มทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท

การเพิ่มทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาทเป็นกระบวนการที่ต้องเตรียมเอกสาร และดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด บริษัทที่ต้องการเพิ่มทุนจดทะเบียนควรวางแผนการเงินให้รอบคอบ และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายหรือบัญชีเพื่อความถูกต้อง นรินทร์ทอง จำกัด ให้บริการ รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่...
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339

#5


ปัจจุบันมีคนจำนวนมากหันมาขายของออนไลน์เพื่อสร้างรายได้ แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อย ไม่รู้เรื่องบัญชีและภาษี เกิดเป็นคำถามที่ว่า "ขายออนไลน์ต้องจ่ายภาษีไหม?" "หากไม่เคยส่งภาษี ขายของออนไลน์ โดนภาษีย้อนหลัง ต้องทำอย่างไร?" เรียนรู้ไปกับเรานริทร์ทองได้ในบทความนี้


ทำความเข้าใจเรื่องการ ยื่นภาษี ไปกับนรินทร์ทอง คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่



ขายออนไลน์ต้องจ่ายภาษีไหม?


ในกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: จะต้องยื่นภาษี เมื่อมีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 บาทต่อปี ถึงแม้จะไม่มีภาษีที่ต้องชำระก็ตาม


สรรพากรสามารถตรวจได้อย่างไรว่าเรากำลังขายออนไลน์


ทางสรรพากรสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จาก กฏหมายภาษีอีเพย์เมนต์ (e-Payment) กฎหมายอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม ที่ให้ทุกสถาบันการเงิน แพลตฟอร์มขายสินค้า มีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลให้กรมสรรมพากร


ภาษีย้อนหลัง คืออะไร


ภาษีย้อนหลัง หมายถึง การเก็บภาษีจากรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา หากทางเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าได้มีการละเลยในการชำระภาษี ก็ทำให้ถูกตรวจสอบย้อนหลัง
หลีกเลี่ยงการโดนภาษีย้อนหลัง อ่านบทความเต็มๆ คลิก

หลีกเลี่ยงการโดนภาษีย้อนหลัง อ่านบทความเต็มๆ คลิก



โดนภาษีย้อนหลังถูกปรับอย่างไร


ในกรณีเกินกำหนดเวลายื่นแบบ
  • ต้องระวางโทษค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร
  • เสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม 1-2 เท่าตามภาษีที่ต้องชำระ
  • เสียเงินเพิ่ม 1.5% ของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบ ไปจนถึงวันที่ชำระครบ
ในกรณียื่นแบบทันกำหนด แต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน
  • เสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม 0.5 – 1 เท่าตามภาษีที่ต้องชำระ
  • เสียเงินเพิ่ม 1.5% ของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบ ไปจนถึงวันที่ชำระครบ
ในกรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบภาษีภายในกำหนดเพื่อเลี่ยงภาษี มีค่าปรับดังนี้
  • มีโทษปรับทางอาญาสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกสูงสุด 6 เดือน
  • จ่ายเงินค่าปรับ 2 เท่า ของค่าภาษีที่จะต้องจ่าย
  • จ่ายเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดที่ให้ยื่นแบบภาษี ไปจนถึงวันที่จ่ายภาษีครบ
ในกรณีจงใจหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี
  • มีโทษปรับทางอาญาเริ่มตั้งแต่ 2,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน หรือสูงสุด 7 ปี
  • จ่ายเงินค่าปรับ 2 เท่า ของค่าภาษีที่จะต้องจ่าย
  • จ่ายเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดที่ให้ยื่นแบบภาษี ไปจนถึงวันที่จ่ายภาษีครบ


ในกรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบภาษีภายในกำหนดเพื่อเลี่ยงภาษี มีค่าปรับดังนี้
  • มีโทษปรับทางอาญาสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกสูงสุด 6 เดือน
  • จ่ายเงินค่าปรับ 2 เท่า ของค่าภาษีที่จะต้องจ่าย
  • จ่ายเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดที่ให้ยื่นแบบภาษี ไปจนถึงวันที่จ่ายภาษีครบ
ในกรณีจงใจหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี
  • มีโทษปรับทางอาญาเริ่มตั้งแต่ 2,000 บาท หรือสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน หรือสูงสุด 7 ปี
  • จ่ายเงินค่าปรับ 2 เท่า ของค่าภาษีที่จะต้องจ่าย
  • จ่ายเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดที่ให้ยื่นแบบภาษี ไปจนถึงวันที่จ่ายภาษีครบ

ขายของออนไลน์โดนภาษีย้อนหลัง ควรทำอย่างไร


1. ตรวจสอบเอกสาร: เอกสารรายได้ และ เอกสารที่เกี่ยวข้อง จากปีที่โดนภาษีย้อนหลัง

2. เช็กรายการภาษีที่เกี่ยวข้อง.
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

3. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีและภาษี: เพื่อให้คุณสามารถจัดการปัญหาได้อย่างถูกต้อง
4. เจรจากับกรมสรรพากร: ในกรณีที่มีเงินสดไม่เพียงพอ สามารถเจรจาขอผ่อนชำระเป็นงวดๆ ได้ 
5. ปรับปรุงการทำบัญชี: หลังจากแก้ไขปัญหาแล้ว ควรจัดการระบบบัญชีให้ถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในอนาคต


เรียนรู้วิธีรับมือ ขายของออนไลน์ โดนภาษีย้อนหลัง แบบละเอียด คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่


ป้องกันปัญหาโดนยื่นภาษีย้อนหลัง แนะนำให้ปรึกษาสำนักงานยื่นบัญชีและภาษีที่มีความเชี่ยวชาญ มีบริการครบวงจร ขอแนะนำ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด ให้บริการ รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น


  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่...
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339
#6

นรินทร์ทองให้บริการรับจดทะเบียนนิติบุคคลทุกรูปแบบ ห้างหุ้นส่วน (หจก) บริษัทจำกัด (บจก) ถูกต้องรวดเร็ว ภายใน 1 วัน

มีประสบการณ์มากกว่า 100 เคส พร้อมสิทธิพิเศษ ปรึกษาวางแผนการทำบัญชี และ ส่วนลดเมื่อทำบัญชีกับเรา

เริ่มต้นธุรกิจอย่างมั่นคงกับเรานรินทร์ทอง

เริ่มต้น 5,000 บาท (Walk In)
*ไม่รวมค่าธรรมเนียมการจัดตั้ง*

Tel: 081-627-6872
LINE: @Narinthong


จดทะเบียนบริษัท กับเราเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจของคุณ

1. บริการครบวงจร

เราให้คำปรึกษาทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมคำแนะนำในการเริ่มต้นธุรกิจ และการวางโครงสร้างธุรกิจอย่างถูกต้อง เพื่อให้คุณดำเนินกิจการได้อย่างมั่นคงในระยะยาว


2. รวดเร็ว

ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปี เรามั่นใจในความเร็วและประสิทธิภาพ โดยใช้เวลาเพียง
ไม่เกิน 1 วันในการจดทะเบียนหลังจากตรวจสอบเอกสารครบถ้วน

3. ค่าบริการสมเหตุสมผล

ราคาเป็นมิตรกับธุรกิจ พร้อมบริการจดทะเบียนโดยการ Walk-in ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว


Pain Point ปัญหาของคุณ

การเลือกรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสม

เราให้คำปรึกษาตั้งแต่รูปแบบของธุรกิจ ให้คุณได้รูปแบบที่เหมาะสมกับกิจการ สร้างแนวทางดำเนินธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมให้คำปรึกษาประหยัดภาษีอย่างถูกวิธี


เพิ่งจดทะเบียนบริษัทไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร
การวางแผนธุรกิจที่ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดทำบัญชี การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือการยื่นแบบภาษีต่างๆ การมีที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญจะช่วยให้คุณเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างมั่นคง

 
ขั้นตอนในการดำเนินการยุ่งยาก
การจดทะเบียนบริษัทอาจมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และต้องใช้เอกสารหลายประเภท ทำให้ผู้ประกอบการที่ไม่มีประสบการณ์ เกิดความสับสนเกี่ยวกับเอกสาร แต่ที่ นรินทร์ทอง เรามีผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยให้คำปรึกษา ดำเนินการให้อย่างมืออาชีพ


ขั้นตอนจดทะเบียนบริษัท (Walk in)

การให้บริการ จดทะเบียนบริษัท กับ Narinthong มีขั้นตอนที่ง่ายและสะดวก ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 จองชื่อนิติบุคล
ทางสำนักงานบัญชีจะทำการจองชื่อนิติบุคคล ที่ต้องการใช้ในการจดทะเบียน อย่างน้อย 3 ชื่อ (ทั้งภาษาไทย-อังกฤษ)

ขั้นตอนที่ 2 รวบรวมเอกสาร
ทางสำนักงานบัญชีจะขอสำเนาบัตรประชาชนของผู้ถือหุ้น และกรรมการผู้มีอำนาจ ไม่น้อยกว่า 2 คนขึ้นไป รวมถึงรายละเอียด และสำเนาของผู้ขอจดทะเบียน

ขั้นตอนที่ 3 จัดทำเอกสาร
สำนักงานบัญชีจะจัดเตรียมเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนให้ลูกค้าทำการตรวจสอบ และ รับรองข้อมูล

ขั้นตอนที่ 4 กำหนดผู้มีอำนาจ
ทางบริษัทจะจัดทำหนังสือ บริคณห์สนธิ เพื่อกำหนดกรรมการผู้มีอำนาจ ในบริษัท  และทำการประชุมจัดตั้ง

ขั้นตอนที่ 5 พร้อมยื่นแบบ
ทางบริษัทจะทำการเดินทางเพื่อนำส่งเอกสารจัดตั้งบริษัท กับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า


ทางสำนักงานบัญชีรวบรวมเอกสาร สำหรับดำเนินการจดทะเบียนบริษัทสำหรับฝั่งลูกค้า

  • สำเนาบัตรประจำตัว / หนังสือเดินทาง (Passport) ของผู้เริ่มก่อการทุกคน
  • สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการทุกคน
  • สำเนาหลักฐานเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน / เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์คอนโด / เอกสารสัญญาเช่าที่ตั้งใหม่ ของสำนักงานใหญ่ และสาขา "พร้อมแผนที่และสถานที่สำคัญใกล้เคียง"
  • หนังสือรับรองเงินลงทุน ผู้ถือสัญชาติไทย (กรณีมีบุคคลต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้น)
  • สำเนาหลักฐานการชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
  • ตรายางบริษัท (ถ้ามี)
  • หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัท เพื่อประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)


ราคาค่าบริการรับทำบัญชี



จดทะเบียนบริษัทแบบ Walk-in

฿ 5,000 บาท

- ระยะเวลาในการอนุมัติ
หากเอกสาที่ใช้ดำเนินการถูกต้องเรียบร้อยสามารถยื่น จัดการให้เสร็จภายใน 1 วัน

- ในกรณีที่มีข้อผิดพลาดสามารถแก้ไขได้ทันที
ในกรณีที่มีข้อผิดพลาด  สามารถแก้ไขได้ภายในวัน ทำให้การจดทะเบียนแบบ Walk In สามารถลดความล่าช้า ในการดำเนินการ

ข้อจำกัด คือ

- มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
การดำเนินการแต่ละครั้งจะเกิดค่าใช้จ่าย หากดำเนินการผิดพลาดก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

- ต้องเดินทางตามเวลาเปิด-ปิด
ต้องยื่นเอกสารในเวลาทำการของสำนักงาน ทำให้ไม่สะดวกเท่าในกรณีของการยื่นออนไลน์


จดบริษัทแบบออนไลน์

฿ 3,500

  • ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
    ไม่ต้องเดินทางไปสำนักงาน สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา
  • ตรวจสอบสถานะผ่านระบบออนไลน์
    สามารถติดตามสถานะของการจดทะเบียนผ่านระบบออนไลน์

ข้อจำกัด คือ

- ระยะเวลาในการอนุมัติ
ระยะเวลาขึ้นอยู่กับนายทะเบียน อาจมากถึง 3-7 วันทำการ หากดำเนินการแล้วเอกสารไม่เรียบร้อย ก็อาจทำให้เพิ่มระยะเวลาในการดำเนินการ

- ปัญหาทางเทคนิค
หากเกิดปัญหาทางเทคนิค เช่น ระบบล่ม อาจทำให้การดำเนินการล่าช้า


บริการออกแบบโลโก้ โดยกราฟฟิกมืออาชีพ

บริการออกแบบโลโก้ของเรา มุ่งเน้นสร้างสรรค์เอกลักษณ์ที่สะท้อนแบรนด์ของคุณอย่างชัดเจน
ด้วยทีมงานมืออาชีพที่เชี่ยวชาญในการใช้สี รูปทรง และสัญลักษณ์ที่เหมาะสม
เราพร้อมส่งมอบโลโก้ที่โดดเด่นและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Tel: 081-627-6872
LINE: Narinthong


คำถามที่พบบ่อย

ทุกอย่างที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท

Q: ทำไมควรจดบริษัทกับ Narinthong?

A: เรามีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญในการจดทะเบียนบริษัท พร้อมให้คำปรึกษาคุณทุกขั้นตอน เพื่อให้การจดทะเบียนของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย


Q: บริการจดทะเบียนบริษัทกับ Narinthong ครอบคลุมอะไรบ้าง?

A: เราให้บริการจดทะเบียนบริษัทครบวงจร ตั้งแต่การให้คำปรึกษาเบื้องต้น การติดตามผล และการให้คำปรึกษาหลังการจดทะเบียน


Q: ค่าใช้จ่ายการจดทะเบียนบริษัทกับ Narinthong เป็นอย่างไร?

A: เรามีแพ็คเกจบริการที่หลากหลายและยืดหยุ่นให้เลือกตามความต้องการของธุรกิจคุณ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ของเรา


Q: ใช้ระยะเวลากี่วันในการจดทะเบียนที่ Narinthong?

A: หากเอกสารถูกต้องเรียบร้อยสำหรับการจดทะเบียนบริษัท แบบ Walk in สามารถดำเนินการได้ภายใน 1-3 วันทำการ
#7


การที่เป็นเจ้าของกิจการของธุรกิจที่มีการว่าจ้างบริษัทที่ช่วยดูแลบัญชี แต่ยังคงเจอกับปัญหาที่ทำให้ปวดหัว เช่น มีการทำงานที่ล่าช้า หรือเอกสารเกิดข้อผิดพลาดอยู่เป็นประจำ วันนี้ นรินทร์ทอง จะมาแนะนำคุณเกี่ยวกับการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี โดยเริ่มจากระยะเวลาที่เปลี่ยนควรเป็นช่วงไหน และขั้นตอนของการเปลี่ยนมีอะไรบ้าง


เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ควรเปลี่ยนตอนไหน


เปลี่ยนระหว่างรอบ
ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนอย่างกะทันหัน และต้องมีความจำเป็นอย่างมากในการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี เพราะคุณต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม จากสำนักงานบัญชีเก่าที่ไม่ได้อยู่ครบปีตามสัญญา

เปลี่ยนตอนต้นรอบ
ช่วงที่นิยมเปลี่ยนสำนักงานบัญชีมากที่สุด คือ ตอนต้นรอบของบัญชีใหม่ เพราะการทำบัญชีในแต่ละรอบจะต้องมีการปิดบัญชี และส่งมอบเอกสารคืนให้กับผู้ประกอบการ (หากไม่ได้รับเอกสารต้องแจ้งกับทางสำนักงานบัญชี)

ซึ่ง 1 รอบของระยะเวลาในการทำบัญชี สามารถเริ่มต้นและสิ้นสุดในเดือนไหนก็ได้ แต่โดยส่วนมากจะเริ่มรอบในเดือนแรกของปี


ขั้นตอนการเปลี่ยนต้องทำอย่างไร?

รหัสผ่านตามช่องทางต่างๆ


  • ขอรหัสในการนำส่งงบการเงิน ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้ส่งงบการเงินผ่านระบบออนไลน์ หรือ DBD e-Filing
  • ขอรหัสของการยื่นแบบนำส่งภาษี หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่มีเกณฑ์ต้องเสียภาษี สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์E-FILING
  • ขอรหัสที่ทำธุรกรรมของประกันสังคม ถ้าต้องทำเรื่องแจ้งเข้า – แจ้งออกจากประกันสังคม สามารถทำผ่านเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม

เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี


  • บิลซื้อและบิลขาย จะเกี่ยวข้องกับเงินที่เข้า – เงินที่ออก ซึ่งทางสำนักงานบัญชีจะทำเป็นชุดเอกสาร เช่น ใบสำคัญจ่าย และ ใบสำคัญรับ
  • แบบนำส่งภาษีและใบเสร็จ ประกอบไปด้วยแบบ ภ.ง.ด 1, ภ.ง.ด 3, ภ.ง.ด 53 และ ภ.พ. 30 กับส่งภาษีประจำปี ภ.ง.ด 50 และ ภ.ง.ด 51
  • ภาษีซื้อและภาษีขาย (กรณีที่มี) ถ้าคุณมีรายได้ต่อปีมากกว่า 1.8 ล้านบาท จะมีการจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บ VAT อยู่ที่ 7%
  • แบบนำส่งประกันสังคมและใบเสร็จรับเงิน นายจ้างหรือผู้ประกอบการที่มีการขึ้นทะเบียนนายจ้างเรียบร้อยแล้ว จะต้องขอแบบนำส่งประกันสังคมกับใบเสร็จรับเงิน



ข้อมูลการบันทึกบัญชี


ข้อมูลที่ต้องได้รับคืน: เป็นการหายอดคงเหลือที่ถูกต้อง ณ วันสิ้นงวดบัญชี ของบัญชีทุน บัญชีสินทรัพย์ และบัญชีหนี้สิน
  • สมุดรายวันเฉพาะ คือ รายวันซื้อ, รายวันขาย, รายวันจ่าย และรายวันรับ
  • สมุดรายวันแยกประเภท มีการแยกประเภทออกเป็น 2 ส่วน คือ ประเภททั่วไป และ ประเภทย่อย
  • งบทดลอง มีทั้งหมด 5 หมวด คือ สินทรัพย์, หนี้สิน, ส่วนเจ้าของ, รายได้ และค่าใช้จ่าย
  • ทะเบียนทรัพย์สิน จะเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงของทรัพย์สินที่คุณมีอยู่

ข้อมูลที่อาจจะมี: สมุดรายวันเฉพาะ, สมุดรายวันแยกประเภท, งบทดลอง และทะเบียนทรัพย์สิน
  • ทะเบียนลูกหนี้ ทะเบียนเจ้าหนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่มีลูกหนี้การค้าหรือเจ้าหนี้การค้า
  • รายละเอียดสินค้าคงเหลือ ในกรณีที่ธุรกิจของคุณมีการจำหน่ายสินค้า
  • ยอดคงเหลือฝั่งสินทรัพย์และหนี้สิน การดำเนินธุรกิจของคุณมีสินทรัพย์และหนี้สินยอดคงเหลือในระดับที่สูง


ทำไมถึงต้องเตรียมตัวก่อนที่จะเปลี่ยนสำนักงานบัญชี?

การเตรียมตัวจะช่วยให้คุณเลือกระยะเวลาที่เหมาะสมอย่าง ตอนต้นรอบของบัญชีใหม่ เพื่อป้องกันการทำงานที่ซ้ำซ้อน และที่สำคัญอย่าลืมขอรหัสผ่าน ขอเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี รวมไปถึงขอข้อมูลการบันทึกบัญชีจากสำนักงานบัญชีที่เก่า




สนใจเปลี่ยนสำนักงานบัญชี ติดต่อได้ที่ นรินทร์ทอง!

เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี เพื่อให้ธุรกิจของคุณพัฒนาได้อย่างก้าวกระโดด และรู้ทุกการเคลื่อนไหวทางการเงิน เพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างรวดเร็ว โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
 

ใครมีข้อสงสัย ต้องการคำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามได้ที่...
Facebook : [url="https://www.facebook.com/NarinthongAccounting/NarinthongOfficial"]NarinthongOfficial

E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339
#8


การแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัดสามารถทำได้ในปัจจุบัน เพราะกฎหมายได้มีการอำนวยความสะดวกให้สามารถแปรสภาพเป็นบริษัทได้โดยไม่ต้องเลิกห้างหุ้นส่วน และสามารถใช้ชื่อเดิมของห้างหุ้นส่วนได้ แต่ก็มีเงื่อนไขอยู่บ้างที่เราต้องปฏิบัติตาม โดยที่เงื่อนไขจะมีอะไรบ้างเรามาดูกัน


การเปลี่ยนจากห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัท สามารถทำได้ไหม? เรียกว่าอะไร?

การเปลี่ยนจากห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทนั้นสามารถทำได้ โดยมีหลักเกณฑ์ง่ายๆคือ ต้องมีผู้ร่วมลงทุน 3 คนขึ้นไป



ทำไมต้องเปลี่ยน ห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัท?

ห้างหุ้นส่วนที่มีเป้าหมายในการขยายธุรกิจ เพิ่มความมั่นคงทางการเงิน หรือมีแผนที่จะทำธุรกิจร่วมกับนักลงทุนภายนอก มักจะต้องการแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด เพราะสามารถเพิ่มทุน ขายหุ้นให้บุคคลภายนอก และสร้างภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น หรือเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดของคู่สัญญาทางธุรกิจ กฎระเบียบ หรือกฎหมายที่กําหนดว่าธุรกิจบางอย่าง หรือธุรกรรมบางประเภท ต้องดําเนินการโดยนิติบุคคลที่ะเป็นบริษัทเท่านั้น


ข้อมูลที่ต้องใช้ในการ แปรสภาพห้างหุ้นส่วน

  • ชื่อของบริษัท
  • ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ (ตั้งอยู่ ณ จังหวัดใด)
  • วัตถุที่ประสงค์ของบริษัทที่จะประกอบกิจการค้า
  • ข้อบังคับ (ถ้ามี)
  • จำนวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชำระแล้ว อย่างน้อยร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน
  • ชื่อ ที่อยู่ อายุของกรรมการ
  • ชื่อ ที่อยู่ อาชีพ สัญชาติ และจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
  • รายชื่อหรือจำนวนกรรมการที่มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท (อำนาจกรรมการ)
  • ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมค่าตอบแทน
  • ตราสำคัญ

เอกสารแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัด


  • หนังสือบริคณห์สนธิ (เอกสารที่ระบุรายละเอียดของบริษัท)
  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
  • ข้อบังคับบริษัท
  • หนังสือรับรองและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของหุ้นส่วน
  • หนังสือแจ้งการขอแปรสภาพจากห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัท
  • กรอกรายละเอียดเพิ่มเติม ได้แก่ เงื่อนไขการลงนาม, จำนวนชำระทุนครั้งแรก, สัดส่วนของผู้ถือหุ้น
  • แต่ละท่าน, อาชีพของผู้ถือหุ้น, อีเมลและเบอร์โทรศัพท์ทุกท่าน




ขั้นตอนการแปรสภาพห้างหุ้นส่วน


1. จัดทำหนังสือตกลงยินยอมแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด:  โดยต้องมีหนังสือแจ้งความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วน โดยยื่นหนังสือไปยังกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่สำนักงานใหญ่ของห้างหุ้นส่วนตั้งอยู่   
2. จัดทำประกาศหนังสือพิมพ์:  ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราว และมีหนังสือบอกกล่าว ไปยังเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนให้ทราบเรื่องที่ห้างหุ้นส่วน จะแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด
3. หากคู่ค้าไม่มีการคัดค้าน:  นับตั้งแต่ 30 วันที่มีการบอกกล่าว หากไม่มีผู้ใดคัดค้าน หุ้นส่วนจำกัดต้องจัดให้มีการประชุมผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน เพื่อให้ความยินยอมและดำเนินการ
4. หุ้นส่วนผู้จัดการเดิมต้องส่งมอบกิจการ  ทรัพย์สิน บัญชี เอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ให้แก่กรรมการบริษัทภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ให้ความยินยอมและดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ
5. คณะกรรมการต้องยื่นคำขอจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด  ต่อนายทะเบียน ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้ดำเนินการครบถ้วนแล้วเมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นบริษัทจำกัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัดเดิมหมดสภาพการเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด และ ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่จะแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด


จ้างแปรสภาพห้างหุ้นส่วน หรือทำเอง


จ้างสำนักงานบัญชี
ข้อดี:

1. ความรวดเร็ว: ผู้เชี่ยวชาญมีความรู้และประสบการณ์ สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นได้รวดเร็ว
2. ลดความซับซ้อน: กระบวนการแปรสภาพมีขั้นตอนที่ซับซ้อน การจ้างจะช่วยลดความกังวลในเรื่องนี้
3. ความถูกต้อง: ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้มั่นใจว่าทุกขั้นตอนถูกต้องตามกฎหมาย และหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
4. คำแนะนำเพิ่มเติม: สามารถให้คำแนะนำด้านกฎหมา ยหรือการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการแปรสภาพ

ข้อเสีย:
1. ค่าใช้จ่าย: การจ้างผู้เชี่ยวชาญอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูง ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของงาน


แปรสภาพห้างหุ้นส่วน ด้วยตัวเอง
ข้อดี:
1. ประหยัดค่าใช้จ่าย: การดำเนินการเองจะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับผู้เชี่ยวชาญ
2. การเรียนรู้: การทำเองจะทำให้เข้าใจขั้นตอนและเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการบริหารบริษัทในอนาคต

ข้อเสีย:
1. ใช้เวลาและทรัพยากร: การดำเนินการเองอาจใช้เวลามาก และต้องศึกษาขั้นตอนให้รอบคอบ
2. ความซับซ้อน: ขั้นตอนและเอกสารที่เกี่ยวข้องมีความซับซ้อน ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดหากไม่มีความรู้หรือประสบการณ์
ความไม่แน่นอน: หากเอกสารหรือขั้นตอนใดผิดพลาด อาจต้องกลับไปแก้ไขหรือดำเนินการใหม่




สรุป

การแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัดช่วยเพิ่มความมั่นคงและความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของคุณ การเลือกดำเนินการเองหรือจ้างผู้เชี่ยวชาญขึ้นอยู่กับความซับซ้อนและเวลาที่มีอยู่ หากต้องการคำแนะนำหรือบริการด้านการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนให้เป็นบริษัทจำกัด บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด สำนักงาน รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่...
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339
#9


การเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการระดมเงินทุนจากผู้ถือหุ้นรายเก่า หรือผู้ถือหุ้นรายใหม่ สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าขั้นตอนการเพิ่มทุนเป็นอย่างไร คุณจะต้องไม่พลาดกับบทความนี้จาก นรินทร์ทอง!


การ เพิ่มทุนจดทะเบียน คืออะไร และดีอย่างไร?


การเพิ่มทุนจดทะเบียน เป็นการที่บริษัทได้เปิดระดมเงินทุนจากผู้ถือหุ้น สำหรับคนที่สนใจ อย่าง ผู้ถือหุ้นรายเก่า หรือ ผู้ถือหุ้นรายใหม่ที่อยากจะลงทุน โดยการเพิ่มทุนจดทะเบียนให้บริษัทมีมูลค่าที่สูงขึ้น จะทำให้เกิดข้อดีในเรื่องของ

  • ช่วยให้กิจการสามารถจ่ายเงินปันผลได้สูงขึ้น
  • ทำให้กิจการเกิดสภาพคล่อง
  • ปัญหาค่าใช้จ่ายของดอกเบี้ยลดลง
  • ธุรกิจดูมีความน่าเชื่อถือ
  • หมดปัญหากับยอดขาดทุนสะสม


การเสนอขายหุ้นเพื่อนำมาเพิ่มทุน มีทั้งหมดกี่รูปแบบ?



  • การเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม (Right Offering : RO) เป็นการขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นรายเก่า โดยตามสัดส่วนที่ตัวเองได้ถือหุ้นเอาไว้
  • การเสนอขายให้กับบุคคลในวงจำกัด (Private Placement : PP)สามารถขายได้ไม่เกิน 50 ราย หรือมูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท ภายใน 12 เดือน
  • การเสนอขายให้กับประชาชน (Public Offering : PO) จะมีข้อจำกัดที่บริษัทเอกชนทั่วไป ต้องเป็นบริษัทที่มีการจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น


หากต้องการเพิ่มทุนจดทะเบียน จะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?


  • แบบ บอจ. 1
  • แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  • แบบ บอจ.4
  • หนังสือบริคณห์สนธิที่ทำการแก้ไขแล้ว 1 ฉบับ
  • หลักฐานการอนุญาตให้เพิ่มทุน (ในกรณีที่ประกอบธุรกิจที่เฉพาะ)
  • สำเนาหลักฐานที่มีการรับชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทที่ให้กับผู้ถือหุ้น
  • คำสั่งศาล (ในกรณีที่ฟื้นฟูกิจการ)
  • สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการที่ลงชื่อขอจดทะเบียน
  • สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)

ขั้นตอนของการเพิ่มทุนจดทะเบียน


  • ทางบริษัทจะต้องมีการประชุมผู้ถือหุ้น โดยออกหนังสือนัดประชุมที่มีการแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 14 วัน หรือตามที่บริษัทได้กำหนดเอาไว้
  • ในวันที่จัดประชุมผู้ถือหุ้น จะมีมติคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้น และมีสิทธิ์ออกเสียง ที่ไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมด
  • หลังจากที่ทำการประชุมกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว การจัดทำคำขอจดทะเบียน ถือว่าเป็นช่วงที่คุณต้องทำการเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องเอาไว้ให้เรียบร้อย
  • นำเอกสารที่เตรียมเอาไว้ไปยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจทั้ง 7 เขต หรือ ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration)

สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจะรู้แล้วว่า การเพิ่มทุนจดทะเบียนต้องมีการทำงานตามขั้นตอนและเตรียมเอกสาร จึงค่อนข้างเป็นเรื่องที่ยุ่งยากกับผู้ประกอบการบางราย หากคุณกำลังมองหาสำนักงานบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญ ช่วยให้หมดปัญหากับความยุ่งยากที่ต้องเจอ แนะนำให้ติดต่อมาได้ที่ นรินทร์ทอง !


สนใจเพิ่มทุนจดทะเบียน นรินทร์ทอง ช่วยคุณได้ !

บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี และภาษี รวมไปถึงการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่...
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339



#10


หากพูดถึงการจดทะเบียนบริษัท ในปัจจุบันสามารถทำได้ง่าย ในรูปแบบของการจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ หรือ e-Registration ทำให้สะดวกและประหยัดเวลา ทาง นรินทร์ทองจะขออธิบายขั้นตอนการจดทะเบียนที่จับมือคุณทำตามบทความนี้!

วิธีการ จดทะเบียนบริษัทออนไลน์
สามารถทำผ่านทางเว็บไซต์ DBD e-Registration ของทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • การลงทะเบียนผู้ใช้งาน
  • วิธียืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC)
  • ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท
  • การชำระค่าธรรมเนียม

การลงทะเบียนผู้ใช้งาน


คุณต้องลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์ได้ที่ https://ereg.dbd.go.th หลังจากนั้นให้คลิกไปยัง 'ลงทะเบียนผู้ใช้งานระบบ'
  • ข้อตกลงและเงื่อนไข : เป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นระหว่างคุณกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • เลือกรายการ : คุณจะต้องเลือกประเภทของการลงทะเบียนกับการยืนยันตัวตน โดยทำการยืนยันผ่านโทรศัพท์มือถือ
  • บันทึกข้อมูลการลงทะเบียนผู้ใช้งาน : ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลบุคคล และ ข้อมูลการติดต่อ
  • ยืนยันการส่งข้อมูล : ระบบจะแสดงให้คุณได้ตรวจสอบอีกครั้ง ก่อนที่จะทำการยืนยันส่งข้อมูล

การยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC)


ต้องเตรียมบัตรประจำตัวประชาชน และอุปกรณ์ที่สามารถถ่ายภาพได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ กล้องเว็บแคม
ขั้นตอนแรก : ถ่ายภาพบัตรประจำตัวประชาชนด้านหน้า
ขั้นตอนที่ 2 : ถ่ายรูปใบหน้าของตัวเอง
ขั้นตอนที่ 3 : ถ่ายวิดีโอใบหน้าของตัวเอง
ขั้นตอนสุดท้าย : ให้คุณทำการตรวจสอบรูปกับวิดีโอ ก่อนทำการส่งเอกสารเพื่อยืนยัน



เอกสารที่ต้องใช้ในการจดบริษัทออนไลน์


1. คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)
2. แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
3. หนังสือบริคณห์สนธิ (แบบ บอจ.2)
4. รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (แบบ บอจ.3)
5. รายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.)
6. รายละเอียดวัตถุประสงค์ของบริษัท (แบบ ว.)
7. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5)
8. สำเนาหนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท

ขั้นตอนการจดบริษัทออนไลน์

ถ้าคุณเป็นเจ้าของธุรกิจหรือกิจการ ต้องเข้าสู่ระบบก่อน > 'จดทะเบียนนิติบุคคล' > เลือก 'สร้างคำขอการจดทะเบียนนิติบุคคล' และ 'ผู้เริ่มก่อการ/กรรมการ/หุ้นส่วน/ผู้ชำระบัญชี'

ถ้าคุณเลือกจดทะเบียนในนามของบริษัทจำกัด ให้คลิกที่ 'บริษัทจำกัด : หนังสือบริคณห์สนธิและจัดตั้งบริษัทพร้อมกัน (ภายในวันเดียว)'

การกรอกชื่อนิติบุคคลจะมีให้ใส่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พอเข้าสู่หน้า 'คำรับรองการจดทะเบียนบริษัท' เป็นเรื่องเกี่ยวกับวันที่จัดประชุม โดยต้องการทำกรอก 'วันที่, เวลา, สถานที่ประชุม และชื่อของผู้เป็นประธานในที่ประชุม'

การประชุมตั้งบริษัทให้คุณเลือก 'รูปแบบสำเร็จรูป' ในส่วนที่เหลือจะเป็นการกรอกรายละเอียดต่างๆ

แบบ บอจ.2 หรือ หนังสือบริคณห์สนธิ จะเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผู้เริ่มก่อตั้งบริษัท ที่ได้มีการลงชื่อร่วมกัน โดยคุณต้องทำการกรอกข้อมูลชื่อบริษัท, สำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทจะตั้งอยู่ ณ, ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้น, ทุนบริษัท และรายละเอียดของผู้ก่อตั้ง

ให้คุณกรอกข้อมูลลงในแบบ บอจ.3 เป็นรายการจดทะเบียนจัดตั้งให้อิงข้อมูลเดิม ไม่ต้องทำการปรับ และ ข้อ 7. บริษัทนี้ตั้งขึ้นโดย ให้เลือก 'ไม่มีกำหนดอายุ'

รายละเอียดที่ตั้งสำนักงานใหญ่ต้องใส่ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ในช่องของเลขรหัสประจำบ้าน คือ เลขที่อยู่ในสมุดทะเบียนบ้าน

ข้อ 11. บริษัทนี้ตั้งขึ้นโดย มี 2 คำตอบให้เลือก ระหว่างไม่มีข้อบังคับและมีข้อบังคับ และการระบุรอบปีบัญชี จะเป็นวันที่เราทำการปิดงบ มีวิธีการกรอกเป็นเลข 4 หลัก โดยวันที่คือ 2 เลขแรก และ 2 เลขหลังเป็นเดือน


แบบ บอจ.5 เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นและรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัท โดยคุณจะต้องทำการตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง ก่อนที่จะคลิกหน้าถัดไป
วัตถุประสงค์ (แบบ ว. สำเร็จรูป) ว่าธุรกิจของคุณเกี่ยวกับอะไร มีตั้งแต่ ว.1 – ว.5  ถือว่าเป็นการระบุให้ธุรกิจของคุณชัดเจนมากยิ่งขึ้น

แบบ สสช.1 จะแสดงให้คุณได้เห็นรายละเอียดของการจดทะเบียนกับผู้ถือหุ้น รายละเอียดของลูกจ้างและผู้รับเหมา > ให้คุณคลิกไปที่ 'TSIC' เพื่อค้นหารหัสธุรกิจของคุณ

ในส่วนนี้เป็นการแนบเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องส่งให้กับทางนายทะเบียน เพื่อทำการตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็น ตราประทับ (กรณีที่มี), แผนที่สำนักงานใหญ่ (ต้องแนบไฟล์) และเอกสารประกอบการจดทะเบียน

การส่งคำขอให้ตรวจสอบ ในระบบจะแสดงให้คุณเห็นเอกสารตัวอย่างของการยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ และจัดตั้งบริษัทพร้อมกัน

หากเอกสารของคุณผ่านการตรวจสอบหรือได้รับการอนุมัติแล้ว ต้องลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ที่ถือหุ้นทุกคนจะต้องลงลายมือ


จดทะเบียนบริษัทออนไลน์ มีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร
การดำเนินงานจดทะเบียนนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีความสะดวกรวดเร็ว และประหยัดเวลาได้มากกว่าการเดินทางไปจดทะเบียนด้วยตัวเอง โดยมีข้อดี-ข้อเสีย ดังนี้
ข้อดี : การ จดทะเบียนบริษัทออนไลน์ เป็นวิธีที่สะดวกรวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลา และลดต้นทุนค่าใช้จ่าย
ข้อเสีย : ต้องดำเนินการด้วยตัวเองทั้งหมด โดยเฉพาะการเตรียมเอกสาร และใช้เวลารอการตอบกลับ E-mail ประมาณ 3-5 วัน

จดบริษัทออนไลน์ สรุป

จากเนื้อหาในข้างต้นจะเห็นได้ว่า วิธี จดทะเบียน บริษัท ออนไลน์ ไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่คิด ดังนั้นถ้าธุรกิจของคุณเริ่มเติบโต มีรายได้มากขึ้น ผู้ประกอบการควรศึกษาขั้นตอนการจดทะเบียนให้ดี และเตรียมเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ยื่น เพื่อขอจดทะเบียนบริษัทให้พร้อม และนอกจากเรื่องการจดทะเบียนบริษัทแล้ว สำหรับใครที่เป็นผู้ประกอบการมือใหม่ อย่าละเลยที่จะจ้างสำนักงานบัญชีให้เป็นผู้ช่วยดูแลบัญชีและภาษีของบริษัท เพราะการมีนักบัญชีที่ดีก็เหมือนมีคู่คิดที่คอยให้คำแนะนำ คอยช่วยเหลือผู้ประกอบการในด้านการประกอบธุรกิจ ดังนั้นถ้าหากคุณกำลังมองหาสำนักงานบัญชี ขอแนะนำ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโตและมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น

  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่...
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339


#11


สำหรับใครที่ต้องการศึกษาหาข้อมูลก่อนจดทะเบียนบริษัท  นรินทร์ทอง แนะนำว่าให้อ่านบทความนี้ เพราะทางเราได้รวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการ จดบริษัทออนไลน์ กับ DBD Biz Regist รวมถึงการจัดเตรียมเอกสาร และค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนอย่างละเอียด
อ่านวิธีการเริ่มต้น วางแผน ภาษีขายออนไลน์ แบบละเอียด คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่


ขายของออนไลน์ ต้องเสียภาษีไหม?

ถ้าคุณกำลังสงสัยว่า ขายออนไลน์เสียภาษี ไหม? ขอตอบเลยว่า ต้องเสียภาษี โดยพิจารณาจากยอดขายในแต่ละเดือนว่า ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ ซึ่งรายได้ที่มาจากการขายของออนไลน์ จัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ ม. 40 (8)
วิธีวางแผน ภาษีขายออนไลน์ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์
ก่อนอื่นเราจะต้องรู้ก่อนว่าตัวเองอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ หรือต้องเสียกี่เปอร์เซ็นต์? โดยปกติแล้วในกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องยื่นภาษี เมื่อมีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 บาทต่อปี ถึงแม้ว่าจะไม่มีภาษีที่ต้องชำระ และผู้มีรายได้ตั้งแต่ 310,000 บาทขึ้นไป ต้องยื่นภาษีและเข้าข่ายเสียภาษี
เรียนรู้วิธีการวางแผนเสียภาษีฉบับเต็ม คลิกอ่านเพิ่มเติมที่บทความ นรินทร์ทอง


การคำนวณรายได้


1. ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี ตามอัตราขั้นบันได
สำหรับการคำนวณภาษีวิธีนี้ สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายที่นำมาหักลบได้ 2 แบบ คือ
1.1 หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ของยอดขาย วิธีนี้เหมาะกับร้านค้าออนไลน์ที่มีต้นทุนน้อย
1.2 หักตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง วิธีนี้จะต้องเก็บรวบรวมหลักฐานค่าใช้จ่าย เหมาะกับร้านค้าที่มีต้นทุนสูง
2. ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้ x 0.5%
วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่เรามีรายได้เกิน 1 ล้านบาทต่อปี และ เมื่อลองคำนวณออกมาเปรียบเทียบกันแล้วคุ้มค่ากว่าคำนวณวิธีที่ 1

ค่าใช้จ่าย
1. หักแบบเหมา 60%  แปลว่า กำไรขั้นต้นของประกอบกิจการ คือ 40% วิธีนี้จะไม่ต้องเก็บเอกสารใดๆ แต่กำไรที่ใช้คำนวณภาษีอาจจะไม่ตรงกับความจริง
2. เลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง  สำหรับกำไรขั้นต้น น้อยกว่า 40% ต้องเตรียมตัวเรื่องเอกสาร ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน, ใบกำกับภาษี, บิลเงินสด, ใบสำคัญรับเงิน และ สำเนาบัตรประชาชน

ค่าลดหย่อนภาษีต่างๆ
1. กลุ่มส่วนตัวและครอบครัว
  • ส่วนตัว 60,000 บาท
  • คู่สมรส 60,000 บาท
  • บุตร (คนละ) 30,000 บาท
  • ค่าฝากครรภ์ + คลอดบุตร 60,000 บาท
  • พ่อแม่ (คนละ) 30,000 บาท
  • ผู้พิการทุพพลภาพ 60,000 บาท
2. กลุ่มเงินบริจาค
  • ทั่วไป ไม่เกิน 10% (ตามที่จ่ายจริง)
  • การศึกษา กีฬา 2 เท่าของเงินบริจาค
    พัฒนาสังคม ประโยชน์สาธารณะ และ รพ.รัฐ (สูงสุดไม่เกิน 10%)
  • พรรคการเมือง 10,000 บาท
3. กลุ่มประกันและการลงทุน
  • ประกันสุขภาพ 25,000 บาท
  • ประกันชีวิตทั่วไป + สะสมทรัพย์ 100,000 บาท
*รวมไม่เกิน 100,000 บาท*
  • ประกันสังคม 9,000 บาท
  • ประกันสุขภาพพ่อแม่ 15,000 บาท
  • RMF 30% ของเงินได้
  • SSF 30% ของเงินได้
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสงเคราะห์ครูฯ 15% ของเงินได้
  • กบข. 30% ของเงินได้
  • เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ 15% ของเงินได้
  • กองทุนการออมแห่งชาติ ไม่เกิน 30,000 บาท
*รวมไม่เกิน 500,000 บาท*
4.  กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • ช้อปดีมีคืน 40,000 บาท
  • ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย 100,000 บาท
  • เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม 100,000 บาท

ตัวอย่างการคำนวณ และ วิธีคิด
แบบที่ 1 นาย A ขายของออนไลน์ และไม่ได้จดทะเบียนบริษัท นาย A มีรายได้ทั้งปี 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่าย 600,000 บาท และไม่มีค่าลดหย่อน นาย A จะคำนวณได้ดังนี้
1,000,000 – 600,000 – 0 = 400,000 บาท นาย A จึงนำรายได้ 400,000 บาท คูณอัตราภาษี โดย 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้นนาย A จะต้องนำรายได้ 250,000 บาท คูณอัตราภาษีขั้นแรกคือ 5% เท่ากับนาย A จะต้องจ่ายภาษีเป็นจำนวนเงิน 12,500 บาท
แบบที่ 2 นาย B ขายของออนไลน์ และจดทะเบียนบริษัท นาย B มีรายได้ทั้งปี 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่าย 600,000 บาท และไม่มีค่าลดหย่อน นาย B จะคำนวณได้ดังนี้
1,000,000 – 600,000 – 0 = 400,000 บาท นาย B จึงนำ 400,000 บาท คูณอัตราภาษี โดย 300,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้นนาย B จะต้องนำรายได้ 100,000 บาท คูณอัตราภาษีขั้นแรกคือ 15% เท่ากับนาย B จะต้องจ่ายภาษีเป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท

รายได้เท่าไหร่ ควรจดบริษัท
สำหรับบุคคลธรรมดา หากมีรายได้สุทธิ 750,001 - 1,000,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษีร้อยละ 20 แต่ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล หากมีกำไรสุทธิอยู่ในช่วง 750,001 - 1,000,000 บาทต่อปี จะเสียภาษีร้อยละ 15 แต่ถ้าเป็นธุรกิจขนาดเล็กมีกำไรไม่เกิน 500,000 ต่อปี อาจยังไม่คุ้มเท่าไรสำหรับการจดทะเบียนบริษัท

รายได้เท่าไร ต้องจดมูลค่าเพิ่ม


ไม่ว่าจะอยู่ในนามบุคคลธรรมดา หรือในนามนิติบุคคล เมื่อมีรายได้จากการขายสินค้า หรือบริการในปีนั้นเกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยสิ่งเหล่านี้มีเหตุผลที่ต้องพิจารณาอยู่ 2 ข้อ คือ
1. ร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องมีความพร้อมการจัดเก็บเอกสารที่ถูกต้องครบถ้วน และสามารถขอเอกสารจากผู้ขายได้
2. บุคคลที่เป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม จะเลิก VAT ยากกว่านิติบุคคล เช่น บริษัทต้องการเลิกกิจการ สามารถแจ้งเลิกพร้อม VAT ได้เลย แต่บุคคลธรรมดาไม่สามารถแจ้งเลิกกิจการได้ แต่ต้องยื่น VAT ต่อไปอีก 3 ปี
ศึกษาข้อมูลการเสียภาษีขายออนไลน์    คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่



วางแผน ภาษีขายออนไลน์ เลือกผู้เชี่ยวชาญด้านการทำบัญชีและภาษี นรินทร์ทอง

จะเห็นว่า การวางแผน ภาษีขายออนไลน์ สำหรับอาชีพขายของออนไลน์ เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้เราสามารถบริหารค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนต่างๆ ทางภาษี และกำหนดแนวทางการเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นสำหรับใครที่ต้องการวางแผนภาษีขายออนไลน์ เราขอแนะนำ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด สำนักงาน รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น
  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่...
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339
#12


หลายคนอาจยังคงเข้าใจว่า การจดทะเบียนบริษัทเป็นเรื่องยาก  เพราะต้องใช้เอกสารจำนวนมาก และดำเนินเรื่องเองทั้งหมด แต่ปัจจุบันนี้เมื่อเทคโนโลยีพัฒนา อะไรๆ ก็ถูกปรับเปลี่ยนให้ง่ายขึ้น การจดทะเบียนบริษัทก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นสำหรับใครที่ต้องการศึกษาหาข้อมูลก่อน จดทะเบียนบริษัทออนไลน์ กับ DBD Biz Regist นรินทร์ทอง แนะนำว่าให้อ่านบทความนี้
อยากอ่านบทความเต็ม จดทะเบียนบริษัทออนไลน์ ฉบับเต็ม  คลิกที่นี่


DBD Biz Regist คืออะไร

DBD Biz Regist หรือ ระบบจดทะเบียนนิติบุคคลดิจิตอล โดยกรมพัฒนาการค้า โดยระบบ DBD Biz Regist ในปัจจุบันมีการอัพเกรดระบบใหม่ สะดวกรวดเร็ว ง่ายขึ้นกว่าเดิม! แต่ทั้งนี้ก่อนที่จะเริ่มต้นจดทะเบียนนิติบุคคลดิจิตอล จะต้องเตรียมเอกสารเหล่านี้

1. คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)
2. หนังสือบริคณห์สนธิ (แบบ บอจ.2) ชำระค่าอากรแสตมป์ 200 บาท
3. แบบวัตถุที่ประสงค์ (แบบ ว.)
4. ใบแจ้งผลการจองชื่อนิติบุคคลที่ยังไม่หมดอายุ
5. หลักฐานให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัท เพื่อประกอบธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ใช้เฉพาะในการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายพิเศษควบคุม)
6. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เริ่มก่อการทุกคน (โดยดูจากหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว)
7. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) (โดยดูจากหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน)
8. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
สำหรับใครที่ต้องการจ้างจดทะเบียนบริษัท ผ่านทางออนไลน์สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ค่าใช้จ่ายการ


ขั้นตอนการ จดทะเบียนบริษัทออนไลน์ ผ่าน DBD Biz Regist

วิธีสมัครเพื่อเข้าสู่ระบบ DBD Biz Regist ก่อนเริ่มจดบริษัท
  • ทำการสมัครสมาชิก โดยมีให้เลือก 2 ส่วนคือ
1. สมัครสมาชิกเป็นผู้แทนจดทะเบียน
2. สมัครสมาชิกเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ
  • โดยทั่วไปผู้ที่ต้องการจดทะเบียนจะเลือก สมัครสมาชิกเป็นผู้แทนจดทะเบียน เมื่อเลือกแล้วกรอกข้อมูลส่วนตัวให้เรียบร้อย หากใครที่ไม่อยากกรอกข้อมูลเยอะ สามารถเข้าสู่ระบบด้วย Digital ID ได้ และเลือก ThaiD
  • จากนั้นจะมี QR Code ขึ้นมา ในขั้นตอนนี้ให้เปิดแอพฯ ThaiD ในโทรศัพท์แล้วสแกน

  • อ่านเงื่อนไขเสร็จแล้ว > กดยินยอม > กดยอมรับ และสามารถดำเนินการต่อได้เลย


  • จากนั้นจะเห็นข้อมูลส่วนตัวขึ้นมาอัตโนมัติ > กดดำเนินการต่อ
  • กรอกเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ และกรอกที่อยู่ในประเทศไทย
  • เมื่อกรอกเสร็จแล้ว ระบบจะให้ยืนยันการส่งข้อมูลอีกครั้ง หากตรวจสอบแล้วข้อมูลถูกต้อง > กดดำเนินการต่อ
  • ทางระบบจะส่ง PIN Code ให้ทาง E-Mail จากนั้นใส่ PIN Code และกดยืนยัน ทางเว็บไซต์จะขึ้นว่า 'ลงทะเบียนสำเร็จ'

  • รายการข้อมูลที่จำเป็น ต้องเตรียมก่อนจดจัดตั้งนิติบุคคลขึ้นมา ให้กดรับทราบด้านล่าง และกดดำเนินการต่อ

  • ระบุข้อมูลบริษัท ขั้นตอนนี้ให้เริ่มจากการระบุข้อมูล 'ชื่อบริษัท' หากใครต้องการตั้งชื่อเฉพาะ ต้องจองชื่อในกรมธุรกิจารค้าก่อน

  • ตราประทับของบริษัท หากไม่มีให้กด 'ไม่มี' และถ้าบริษัทไหนมีให้กด 'มี' และแนบรูปแบบตราประทับ

  • ทุนบริษัท หมายถึง ทุนจดทะเบียนต่อหุ้น มูลค่าหุ้นขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 5 บาท

  • ทำการกรอกข้อมูลที่ตั้ง เมื่อกรอกข้อมูแล้วกดดำเนินการต่อ จากนั้นระบบจะส่ง PIN Code ให้ทาง E-Mail เพื่อกดยืนยัน

  • ระบุข้อมูลส่วนตัวผู้เริ่มก่อการ (เริ่มจัดตั้งบริษัทต้องมีอย่างน้อย 2 คน) หากกรอกข้อมูลในขั้นตอนแรกครบถ้วน ระบบจะขึ้นข้อมูลส่วนตัวให้อัตโนมัติ แต่ต้องระบุข้อมูลตรง 'อาชีพ' เพิ่มเติม สำหรับผู้เริ่มก่อการคนที่ 2 จะต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติม

  • กรอกข้อมูลผู้ถือหุ้น หากมีมากกว่าผู้เริ่มก่อการ สามารถเพิ่มรายชื่อผู้ถือหุ้นเพิ่มเติมได้ ในส่วนของขั้นตอนนี้ให้ทำการกรอก 'จำนวนหุ้น' และ 'จำนวนเงินที่ชำระค่าหุ้น' (ชำระแล้วต้องไม่ต่ำกว่า 25%)

  • กรอกข้อมูลกรรมการ หากเป็นผู้ถือหุ้นให้เลือก 'ชื่อกรรมการจากรายชื่อผู้ถือหุ้น' หากไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้น ให้เลือก 'ตั้งบุคคลอื่นเป็นกรรมการ'

  • เลือกวัตถุประสงค์ของธุรกิจ หากใครทำธุรกิจตรงกับหัวข้อไหนในระบบก็กดติ๊กได้เลย แต่ถ้าธุรกิจของเราเป็นธุรกิจทั่วไปเลือก 'ไม่ใช่ธุรกิจพิเศษ'

  • เลือกรหัสธุรกิจ ค้นหารหัสที่มีหมวดหมู่ตรงกับธุรกิจ ข้อดีของการใส่รหัสธุรกิจคือ เมื่อมีคนค้นหาคำที่เกี่ยวข้องกับรหัสที่เลือก ชื่อธุรกิจของเราจะขึ้นไปยังหมวดหมู่นั้นๆ

  • สร้างข้อบังคับของบริษัท ถ้ามีเลือก 'มีข้อบังคับ' ทางระบบมีให้เลือกทั้งแบบสำเร็จรูป และกำหนดเอง แต่ถ้าไม่มีข้อบังคับเลือก 'ไม่มีข้อบังคับ'

  • รายละเอียดการประชุม ในส่วนนี้จะต้องใส่ข้อมูลให้ครบถ้วน ตั้งแต่วันที่ประชุมจัดตั้งบริษัท, เวลาเปิด - ปิดการประชุม, สถานที่ประชุม, ข้อมูลประธานที่ประชุม, ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท, ข้อมูลผู้สอบบัญชี

  • ข้อมูลประกอบธุรกิจ หัวข้อแรกจะขึ้นว่า รายการอื่นซึ่งเห็นสมควรให้ประชาชนทราบ ให้ตอบว่า 'ไม่มี' และถัดมาคือแบบบันทึกคำขอ ในส่วนนี้สามารถเลือกจดบริษัทพร้อมจด Vat ได้

1. ยื่นจดทะเบียนออนไลน์
2. ยื่นแบบต่อหน้านายทะเบียน
3. ยื่นโดยแนบเอกสารเข้าระบบ
เรียนรู้ขั้นตอนการ จดทะเบียนบริษัทออนไลน์ แบบละเอียด    คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่


อยากได้ที่ปรึกษา จดทะเบียนบริษัทออนไลน์ แบบส่วนตัว แนะนำที่ นรินทร์ทอง
หลังจากที่ได้ศึกษาขั้นตอนการ จดทะเบียนบริษัทออนไลน์ ผ่าน DBD Biz Regist ระบบใหม่ บอกเลยว่าใช้งานง่ายมากๆ เพราะระบบจะตรวจสอบข้อมูล และมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภายนอก มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการกรอกข้อมูลอีกด้วย ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบการคนไหน ที่ไม่มีความรู้ด้านการทำบัญชี และการยื่นภาษี ขอแนะนำ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัดสำนักงาน รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น
  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่...
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339
#13

หากคุณต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยไม่ต้องมีหุ้นส่วน วันนี้นรินทร์ทอง เราจะพามาหาคำตอบ  " จดบริษัทคนเดียว สามารถทำได้หรือไม่" รวมถึงแนวทางสำหรับใครที่ต้องการเปิดธุรกิจด้วยตัวคนเดียว
เรียนรู้แนวทางการ จดบริษัทคนเดียว แบบฉบับเต็มคลิกอ่านที่นี่


จดบริษัทคนเดียว ได้ไหมในประเทศไทย


ตามกฏหมายที่ออกมาในวันที่ 7 กุมภาพันธ์​ 2565 การจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยจำเป็นต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 2 คนตามข้อบังคับ เพราะปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีการเปิดให้จดทะเบียนบริษัทคนเดียว

เหตุผลที่ต้องมีผู้ถือหุ้นมากกว่าหนึ่งคน


การแบ่งปันความเสี่ยง
  • การมีผู้ถือหุ้นมากกว่าหนึ่งคน ช่วยให้บริษัทสามารถแบ่งปันความเสี่ยงทางธุรกิจได้
ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่หลากหลาย
  • การมีหุ้นส่วนที่มีความสามารถในด้านต่าง ๆ เช่น การเงิน การตลาด หรือการจัดการ จะช่วยให้บริษัทสามารถพัฒนาตัวเองได้ในหลายมิติ
ความน่าเชื่อถือ
  • บริษัทที่มีผู้ถือหุ้นหลายคนอาจได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้นจากคู่ค้า นักลงทุน หรือสถาบันการเงิน
ข้อกำหนดทางกฎหมาย
  • การจัดตั้งบริษัทจำกัดตามกฎหมายของประเทศไทยต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 2 คน
อ่านเหตุผลของการที่ต้องมีผู้ถือหุ้นมากกว่าหนึ่งคน แบบฉบับเต็มคลิกอ่านที่นี่


ทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินการ จดบริษัทคนเดียว


ถึงแม้การจดบริษัทคนเดียวจะไม่สามารถทำได้ แต่มีวิธีที่ผู้ประกอบการสามารถใช้เพื่อดำเนินการธุรกิจได้ คือ การจดทะเบียนบริษัท โดยแบ่งสัดส่วนการถือหุ้นกับผู้อื่น เช่น การให้ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าของบริษัทถือหุ้น 99% ของบริษัท ส่วนคนที่ 2 ถือหุ้น 1% เพื่อคงอำนาจการควบคุมและการดำเนินการที่เกือบจะสมบูรณ์อยู่กับคุณเอง


แนวโน้มในอนาคต
ถึงแม้ว่าปัจจุบันในไทยยังไม่สามารถจดบริษัทคนเดียวได้ แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต  โดยเฉพาะการเติบโตของผู้ประกอบการรายย่อย และ การเติบโตของธุรกิจดิจิทัลและออนไลน์ที่เป็นที่นิยม งแอดมินเองคาดว่าจำนวนของผู้ประกอบการออนไลน์เองก็จะมีจำนวนสูงขึ้น ทั้งนี้ในการจดทะเบียนในรูปแบบ บจค. หรือ บริษัทจำกัด (คนเดียว) อาจจะต้องร่างกฏหมายได้รับการอนุมัติ กันต่อไปครับ

หากผู้ประกอบการที่ต้องการศึกษา จดทะเบียนบริษัท เพิ่มเติม คลิกอ่านได้ที่นี่


สรุป
แม้ในปัจจุบันการจดทะเบียนบริษัทคนเดียวในประเทศไทย ยังไม่สามารถทำได้ แต่ผู้ประกอบการยังคงสามารถหาทางเลือกในการดำเนินธุรกิจคนเดียวได้ โดยการแบ่งสัดส่วนการถือหุ้นกับผู้อื่น สำหรับผู้ประกอบท่านไหนที่ต้องการปรึกษา บริษัท นรินทร์ทอง จำกัดสำนักงาน รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น
  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่...
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339

#14


สำหรับใครที่กำลังศึกษาข้อมูล จดบริษัทค่าใช้จ่ายเท่าไร ต้องอ่านบทความนี้ นรินทร์ทอง จะช่วยคุณเจาะลึกรายละเอียด ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนบริษัท  รวมถึงดำเนินการด้วยตัวเอง หรือ จ้างสำนักงานบัญชี แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน!
เรียนรู้วิธีการวางแผน ค่าใช้จ่ายก่อนรจดทะเบียนบริษัท เพิ่มเติมคลิกที่นี่

ควรจดทะเบียนบริษัทเมื่อไร


การจดทะเบียนบริษัท ทำให้เราเสียภาษีในฐานไม่เกิน 20% ช่วยให้เราประหยัดภาษีมากกว่าบุคคลธรรมดา ที่มีฐานภาษีสูงสุดถึง 35% แต่ก็ต้องแลกกับการดำเนินการเข้าระบบ จดบริษัท ทำบัญชี ยื่นภาษี ปิดงบการเงิน แอดมินมีคำถามสั้นๆที่จะช่วยเช็คความพร้อมของคุณ

คำถามข้อที่ 1: ธุรกิจของเรามีรายได้ หรือ อัตราภาษีที่ต้องเสียมากกว่าค่าใช้จ่ายในการเข้าระบบ เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดทำบัญชี ค่าใช้จ่ายในการปิดงบการเงิน และ อื่นๆ แล้วหรือยัง?
คำถามข้อที่ 2: คุณกำลังต้องการสร้างหลักฐานทางการเงินเพื่อขอสินเชื่อในอนาคตหรือไม่
คำถามข้อที่ 3: คุณพร้อมแยกบัญชีส่วนตัว กับบัญชีธุรกิจ อย่างเป็นระบบแล้วหรือยัง?
สำหรับใครที่อยากเตรียมความพร้อม ก่อนจดทะเบียนบริษัท คลิกอ่านที่นี่เลย

ค่าใช้จ่ายจดบริษัท ด้วยตัวเอง


  • ค่าจดทะเบียนบริคณห์สนธิ :มีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ 500 บาท
  • ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัท:  มีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ประมาณ 5,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมจดตราประทับ:  มีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ประมาณ 500 บาท
  • ค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองบริษัท: มีอัตราค่าธรรมเนียมรายการละ 40 บาท
  • ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน:   มีอัตราค่าธรรมเนียมรายการละ 100  บาท
  • รับรองสำเนาการจดทะเบียน:    มีอัตราค่าธรรมเนียมหน้าละ  50   บาท

รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินในกรณีดำเนินการด้วยตัวเอง รวมทั้งสิ้น 6,190 บาท ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆได้การดำเนินการเช่น ค่าเดินทาง ค่าทำตรายาง และ อื่นๆ


ค่าใช้จ่ายจดบริษัท กรณีจ้างจดทะเบียนนิติบุคคล


  • จดทะเบียนบริษัทออนไลน์: ผ่านเว็บกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะมีเรทค่าบริการอยู่ที่ 2500-5,000 บาท ไม่รวมค่าธรรมเนียม

  • จดทะเบียนบริษัท (Walk In): ในกรณีของการ Walk In ในกรณีนี้จะเริ่มที่ 3500 - 5000 บาทขึ้นไป ไม่รวมค่าธรรมเนียม รูปแบบ Walk In จะมีราคาสูงขึ้นจากออนไลน์เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แต่ก็มีข้อดีในเรื่องระยะเวลาในการจดทะเบียนสามารถดำเนินการให้สำเร็จได้ใน 1 วัน

*ราคาในส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ โปรโมชั่นในแต่ละช่วงของสำนักงานบัญชีนั้นๆ*


จดทะเบียนบริษัทด้วยตัวเอง
ข้อดี:
  • ประหยัดค่าใช้จ่าย
  • ควบคุมทุกขั้นตอน
ข้อเสีย:
  • การเกิดข้อผิดพลาด
  • เสียเวลาในการดำเนินธุรกิจ
จ้างบริการจดทะเบียนบริษัท
ข้อดี:
  • สะดวกและรวดเร็ว
  • ลดความเสี่ยงข้อผิดพลาด
  • มีผู้เชี่ยวชาญคอยแนะนำ


ข้อเสีย:
  • มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ไม่ได้เรียนรู้กระบวนการ
เรียนรู้ค่าใช้จ่ายในการจดบริษัทเพิ่มเติม คลิกอ่านบทความเต็มที่นี่

สรุป จดบริษัทค่าใช้จ่ายเท่าไร
การจดทะเบียนบริษัท เป็นขั้นตอนสำคัญที่ควรทำอย่างรอบคอบ หากคุณต้องการลดความยุ่งยากและให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่น บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด สำนักงาน รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น
  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่...
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339
#15

ผู้ประกอบการท่านใดที่สนใจอยากลงทุนเปิดร้านขายยา แต่ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นยังไง บทความนี้ นรินทร์ทอง เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการวางแผนทำ บัญชีร้านขายยา มาให้ทุกคนได้ศึกษาก่อนเริ่มลงทุน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ศึกษาก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจร้านขายยา อ่านบทความเต็มได้ที่นี่



บัญชียาตามเงื่อนไขใบอนุญาตขายยา

  • บัญชีการขายยาควบคุมพิเศษ (ข.ย.7)
  • บัญชีการขายยาอันตราย เฉพาะรายการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนด (ข.ย.7)
  • บัญชีการขายยาตามใบสั่งยา ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบการ
  • บำบัดโรคสัตว์ (ข.ย.9) (ทุกรายการ)
  • จัดทำรายงานการขายยา ตามประเภทที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด ข.ย. 8 โดยให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี


การทำธุรกิจเปิดร้านขายยา ต้องมีการวางแผนและดำเนินการอย่างละเอียดถี่ถ้วน เนื่องจากตลาดสุขภาพในปัจจุบัน มีการแข่งขันกันมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการวางแผนทำบัญชีก่อนเปิดร้านขายยา จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการ ประสบความสำเร็จ โดยการวางแผนทำบัญชีร้านขายยาในนามนิติบุคคล จะมีวิธีการเตรียมตัว ดังนี้

  • ต้องจัดทำบัญชีให้ครบถ้วน ตามมาตรฐานการบัญชี
  • จัดให้มีผู้ทำบัญชี
  • ส่งมอบเอกสารประกอบการลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชี
  • ต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน
  • จัดทำงบการเงิน และจัดให้มีผู้สอบบัญชี
  • จัดนำส่งงบการเงิน
  • ต้องเก็บรักษาบัญชี และเอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชี


อ่านรายละเอียด การวางแผนทำ บัญชีร้านขายยา เพิ่มเติมคลิกที่นี่


ต้นทุน ของร้านขายยา


หลังจากที่ได้ทราบถึงขั้นตอนการวางแผนทำบัญชีร้านขายยากันไปแล้ว ในส่วนนี้เรามาดู ต้นทุนของร้านขายยากันบ้าง โดยต้นทุนที่ต้องใช้ก่อนเริ่มเปิดธุรกิจร้านขายยา จะมีตั้งแต่

1. ค่าอุปกรณ์
2. ค่ายา ค่าอาหารเสริม และอุปกรณ์ทางการแพทย์
3. ค่าเช่าร้าน
4. ค่าจ้างเภสัชกร และพนักงานประจำร้าน
5. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ


รายได้ ร้านขายยา


ในส่วนของ รายได้ร้านขายยา จะมาจากการขายยา และสินค้าภายในร้านเป็นหลัก โดยยาแต่ละกลุ่มจะได้กำไรไม่เท่ากัน โดยรายได้ของร้านขายยา หลักๆ จะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. รายได้หลัก ประกอบด้วย การขายยา, ค่าส่งเสริมการขาย และค่าบริการคัดกรองความเสี่ยง (ถ้ามี)
2. รายได้อื่น เช่น ดอกเบี้ย และอื่นๆ

ค่าใช้จ่าย ร้านขายยา


สำหรับค่าใช้จ่ายหลังจากที่เปิดร้านขายยาแล้ว จะมีทั้งค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร ซึ่งประกอบไปด้วย เงินเดือน, ค่าเช่า, ค่าน้ำประปา, ค่าไฟฟ้า, ค่าโทรศัพท์, ค่าใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม (Licensed Pharmacy), ค่าทำบัญชี, ค่าสอบบัญชี, ค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน และอื่นๆ ทั้งนี้ค่าตอบแทนเภสัชกร ขึ้นอยู่กับสวัสดิการของแต่ละร้าน

ในกรณีขอยาควบคุม และ ยาอันตราย

กรณียาควบคุม หรือ ยาอันตราย ต้องให้เภสัชกรเป็นผู้บันทึกรายการ ซึ่งจะต้องบันทึกจำนวนยา และบันทึกบัญชีพร้อมลงลายมือกำกับด้วยตนเอง และต้องสังเกตรายละเอียดของยาแต่ละตัวให้ดี เช่น ยาที่มีตัวยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม, ยาที่มีตัวยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม, ยาที่มีตัวยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีน ตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม เฉพาะที่เป็นยารูปแบบยาน้ำ 11 ตัวยา ได้แก่ (1) Brompheniramine (2) Carbinoxamine (3) Chlorpheniramine (4) Cyproheptadine (5) Dexchlorpheniramine (6) Dimenhydrinate (7) Diphenhydramine (8.) Doxylamine (9) Hydroxyzine (10) Promethazine (11) Triprolidine วิธีสังเกตยาที่กำหนดให้เป็น "ยาอันตราย" เบื้องต้นให้ดูที่แผง กล่อง หรือภาชนะบรรจุว่ามีคำว่า "ยาอันตราย" หรือไม่ หากยาที่ผู้บริโภคซื้อมีตัวยาเหล่านี้ ควรให้เภสัชกรเป็นผู้บันทึกรายการ และจำหน่ายโดยเภสัชกรอย่างถูกต้องตามกฎหมายกำหนด

ร้านขายยา กับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
สำหรับกิจการร้านขายยา ที่มีรายรับจากการขายสินค้า หรือบริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีรายรับเกิน และนำส่งให้กรมสรรพากรทุกๆ เดือน แต่ในกรณีที่เป็นร้านขายยาค้าปลีก สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้ และต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย รายงานสินค้า และวัตถุดิบ พร้อมนำส่งภาษี 7% (ภ.พ.30) ให้แก่กรมสรรพากรทุกวันที่ 15 ของเดือน

ถ้าไม่อยากพลาดแนวทางการวางแผน ก่อนเปิดร้านขายยาคลิกอ่านบทความเต็มที่นี่!




เตรียมพร้อมก่อนเปิดร้านขายยา ให้ นรินทร์ทอง ช่วยวางแผนทำบัญชี
สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้จะเห็นว่า การทำ บัญชีร้านขายยา ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความละเอียดอย่างมาก และเป็นข้อบังคับใช้ตามที่กฎหมายกำหนด เพราะฉะนั้นหากใครที่กำลังวางแผนเปิดร้านขายยาเป็นของตัวเอง แต่ไม่มีประสบการณ์ด้านการทำบัญชี หรือต้องการผู้ช่วยที่ทำให้การยื่นบัญชีและภาษี ในธุรกิจของคุณให้เป็นเรื่องง่ายขึ้น ขอแนะนำ บริษัท นรินทร์ทอง จำกัด สำนักงาน รับทำบัญชี และจัดทำงบการเงิน โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชีและภาษี ด้วยประสบการณ์ที่ให้บริการมากกว่า 20 ปี โดยมีบริการให้คุณได้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเติบโต และมีประสิทธิภาพในการก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็น
สามาร
  • การส่งภาษีอากร ทางเราสามารถยื่นภาษีให้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยุ่งยากกับการจัดเตรียมเอกสาร รวมไปถึงรับจัดทำรายงาน และให้คำปรึกษาทางด้านภาษี
  • รับจดทะเบียนบริษัท เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการจดทะเบียน เพราะเราสามารถช่วยคุณได้
  • งานทางด้านการเงิน จะเป็นการดำเนินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการยื่นแบบเงินเดือน และประกันสังคมของพนักงานที่ทำงานอยู่ภายในบริษัท
  • ให้บริการรับทำบัญชี หากใครที่กำลังรู้สึกว่าการทำบัญชีนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมากมายภายในบริษัท ทางเราพร้อมที่จะดูแลคุณ
 

สำหรับใครที่ต้องการปรึกษาสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่...
Facebook : NarinthongOfficial
E-mail : narinthong.ac@gmail.com
Line : @Narinthong
Tel : 081-627-6872 , 02-404-2339